40 นางสาวกมลมาศ จันทร์ไพศรี

วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15


บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่  27 กันยายน  พ.ศ. 2556
ครั้งที่  15 เวลาเรียน  13.10 - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน  13.10 น. เวลาเข้าเรียน  13.10 น. เวลาเลิกเรียน 16.40 น


     อาจารย์ให้ทำ  Mind Map เกี่ยวกับความรู้ที่ได้รับจากการเรียนวิชานี้ แล้วอาจารย์แจกของรางวัลผู้ที่ได้รับดาวมากที่สุด และรองลงมาสองอันดับ

 ความรู้ที่ได้รับ
      
    ได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย  สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการสอนเด็ก  ทำให้เราเข้าใจว่าภาษาแบบไหนที่เหมาะสมกับเด็ก รู้ถึงองค์ประกอบของภาษา








บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14



บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 20 กันยายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 14 เรียน เวลาเรียน  13.10- 16.40 น.

เวลาเข้าสอน  13.10 น. เวลาเข้าเรียน  13.10 น. เวลาเลิกเรียน 16.40 น


      อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม แล้วสอนวิธีการเขียนแผน อาจารย์สอนขั้นแรกจนถึงขั้นสุดท้ายโดยแต่ละกลุ่มทำไปพร้อมๆกัน  สอนให้รู้ว่าในแผนการเรียนการสอนจะต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง  กลุ่มของดิฉันทำเรื่องของ ผลไม้   องค์ประกอบของกลุ่มดิฉัน คือ ประโยชน์จากผลไม้ สีของผลไม้ ชนิดของผลไม้ และประเภทของผลไม้
แผนแต่ละกลุ่ม คือ
- วงจรชีวิตของผีเสื้อ
- ผลไม้
- เรื่องเกี่ยวกับ ไก่
-เรื่องเกี่ยวกับ ปลา   เป็นต้น

    พอทำเสร็จให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

  สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้                                                                    
      
        ได้รู้วิธีการเขียนแผน ว่าจะต้องมีขั้นตอนอะไรบ้างและแต่ละขั้นตอนต้องมีความความสัมพันธ์กัน  ในการเขียนแผนขั้นแรกเราต้องเลือกว่าจะทำเกี่ยวกับเรื่องอะไร แล้วทำ Mind  Map เพื่อช่วยให้ได้หัวข้อที่จะนำไปเขียนแผน  สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้และสามารถต่อยอดความคิดในการทำงาน เวลาทำงานจะได้วางแผนอย่างเป็นระบบ ทำให้ง่ายต่อการทำงาน






บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13


บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 13  กันยายน  พ.ศ.2556
ครั้งที่ 13  เวลา  13.10 - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน  13.10 น. เวลาเข้าเรียน  13.10 น. เวลาเลิกเรียน 16.40 น



อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มออกเป็น7กลุ่ม  และให้ช่วยกันออกแบบมุมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ได้ตามรูปแบบแนวคิดของแต่ละกลุ่ม
 
มุมของแต่ละกลุ่ม คือ
 
- มุมเศรษฐกิจพอเพียง
- มุมอาเซียน เกี่ยวกับเรื่องคำทักทาย
- มุมดนตรี เกี่ยวกับดนตรีไทยและดนตรีสากล
- มุมบทบาทสมมติ
- มุมสัตว์น้ำ
และ มุม ของกลุ่มดิฉัน คือ มุมห้องครัว สอนเกี่ยวกับอุปกรณ์ทำครัว
พอทำเสร็จแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมารายงานหน้าห้องเรียน

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้อะไร 

ได้รู้เกี่วกับวิธีการจัดมุม  ในมุมจะต้องมีภาษาในการบอกว่าสิ่งของแต่ละชนิดมีชื่อ
และมีหนังสือประกอบอยู่ในมุม   ได้ฝึกคิดว่าจะทำมุมอะไรดี ได้ความสามัคคีในการทำงาน












บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน
   การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 6  กันยายน พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 12   เวลาเรียน  13.10 16.40 น.
เวลาเข้าสอน  13.10 น. เวลาเข้าเรียน  13.10 น. เวลาเลิกเรียน 16.40 น.

       
        อาจารย์นำเข้าสู่บทเรียนโดยการให้เพื่อนๆออกมาเล่นเกม โดยอาจารย์จะให้เพื่อนๆไปจับฉลาก เมื่อเปิดมาเป็นชื่อสัตว์ให้เพื่อนทำเสียงของสัตว์ตามที่ตัวเองได้จับฉลาก หลังจากนั้นอาจารย์ก็สอนเกี่ยวกับเรื่อง "การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา"

การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา โดยการเรียนในครั้งนี้ได้กล่าวถึง สิ่งแวดล้อมสภาพแวดล้อมในการเสริมทักษะทางภาษาด้านต่างๆ ซึ่งการเรียนในครั้งนี้ก็ได้บอกถึงความหมาย ความสำคัญ ลักษณะทางด้านต่างๆ ซึ่งได้รับประโยชน์ในการนำไปใช้ในอนาคตได้อย่างมาก
                                            
ซึ่งการจัดสภาพแวดล้อมก็จะประกอบไปด้วยมุมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษาต่างๆหลายด้าน เช่น

มุมบ้าน  เด็กสามารถเรียนรู้การใช้ชีวิตประจำวันและสิ่งรอบตัวของเด็กได้เป็นอย่างดี

มุมหนังสือเป็นมุมที่เด็กสามารถ เรียนรู้ภาษาได้ดีที่สุด เพราะ เด็กจะได้เห็นคำจากหนังสือและเกิดความเคยชิน ความคุ้นตา ทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ทางภาษาได้เป็นอย่างดี

มุมบทบาทสมมติ เป็นมุมที่เด็กสามารถแสดง หรือเล่นในบทบาทที่ตนชอบ และได้แลกเปลี่ยนการสื่อสารกันระหว่างเพื่อนทำให้เด็กจะได้เรียนรู้การใช้ภาษา การพูด กล้าแสดงความคิดเห็น การกล่าวทำทักทายรวมทั้งการสนทนาในเรื่องต่างๆของเด็ก

มุมวิทยาศาสตร์ เป็นมุมที่เด็กได้คิด คำนวณวิเคราะ ได้แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้เดิมกับเพื่อนรวมทั้งเด็กยังได้เรียนรู้ภาษาที่แปลกใหม่

      หลังจากเรียนเนื้อหาเสร็จอาจารย์ให้ฝึกคัดลายมือ ก-ฮ เพราะสมัยนี้นักศึกษาไม่ชอบเขียนแบบหัวกลมตัวเหลี่ยมและมักชอบเขียนคำผิด


สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้
    
      ได้ฝึกคัดลายมือแบบหัวกลมตัวเหลี่ยมเพื่อเวลาเขียนหนังสือให้เด็กดูจะได้เป็นระเบียบและสวยงาม ได้รู้ว่าในห้องเรียนควรมีมุมอะไรบ้างต้องจัดสภาพแวดล้อมอย่างไรในการเรียนรู้




 







                                                 



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11


บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 16  สิงหาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 11 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน  13.10 น. เวลาเข้าเรียน  13.10 น. เวลาเลิกเรียน 16.40 น.

        อาจารย์ให้ทำสื่อการเรียนการสอนกลุ่มละ 1 ชิ้น  โดยอาจารย์ให้นักศึกษาทำสื่อหรือจะทำเป็นเกมการศึกษาก็ได้  แต่สื่อที่ทำออกมานั้นจะต้องเกี่ยวกับภาษาของปฐมวัยด้วย แล้วนำออกมาเสนอหน้าชั้นเรียน



กลุ่มของดิฉันทำเป็นเกมส์
          
 ชื่อเกมส์  :    ผลไม้ชวนคิด
 วิธีการเล่น   :   ให้เด็กๆจับคู่ผลไม้กับคำศัพท์  โดยเราจะมีบัตรคำศัพท์ไว้ให้เด็กๆนำไปติดให้ตรงกับ                                          รูปภาพของผลไทย
 ประโยชน์ที่ได้จากเกม  คือ
 1. เพื่อให้เด็กได้รู้จักผลไม้แต่ละชนิด
 2. เพื่อให้เด็กได้รู้ว่าผลไม้แต่ละชนิดเขียนแบบไหน
 3. เพื่อให้เด็กๆได้รู้จักสีของผลไม้
 4. เพื่อให้เด้กได้ฝึกสมาธิ และการสังเกต












การนำความรู้ไปใช้


               ฝึกการทำงานเป็นกลุ่มต้องช่วนเหลือซึ่งกันและกัน ช่วยกันคิดออกแบบ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนทางภาษาที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย








บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10


บันทึกอนุทิน 

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 23  สิงหาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 10  เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน  13.10 น. เวลาเข้าเรียน  13.10 น. เวลาเลิกเรียน 16.40 น.




สื่อการเรียนรู้ทางภาษา

ความหมาย : วัสดุ  อุปกรณ์ หรือวิธีการต่างๆ เพื่อกระตุ้น ส่งเสริมแรงจูงใจ ให้เด็กเกิดความสนใจ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ทางภาษา เครื่องมือที่ครูกำหนดขึ้น เพื่อถ่ายทอด แลกเปลี่ยนเนื้อหาประสบการณ์ แนวคิด ทักษะ เจตคติ

             
       สื่อที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยมากที่สุด คือ สื่อของจริง เพราะจะสามารถดึงดูดความสนใจของเด็กได้มากที่สุด และพร้อมที่จะเรียนรู้ได้มาก

1.สื่อสิ่งพิมพ์


- สื่อที่ใช้ระบบการพิมพ์
- เด็กได้เรียนรู้ตัวอักษร การใช้คำ ประโยค
- หนังสือนิทาน หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ นิตยสาร แบบฝึกหัด พจนานุกรม

2.สื่อวัสดุอุปกรณ์

- สิ่งของต่างๆ
- ของจริง หุ่นจำลอง แผนที่ แผนภูมิ ตาราง สถิติ กราฟ สมุดภาพ หุ่นมือ

3.โสตทัศนูปกรณ์

- สื่อที่นำเสนอด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ
- คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นแผ่น


4.สื่อกิจกรรม

วิธีการที่ใช้ในการฝึกปฎิบัติ ทักษะ
- ใช้กระบวนการคิด การปฎิบัติ การเผชิญสถานการณ์
- เกม เพลง การสาธิต สถานการณ์จำลอง การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ การแสดงผลงาน
ทัศนศึกษา

5. สื่อบริบท

- สื่อที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์
- สภาพแวดล้อม
- ห้องเรียน บุคคล ชุมชน วัฒนธรรม

อาจารย์เปิดเสียงสัตว์และเสียงดนตรีให้ฟัง ว่าเป็นเสียงอะไร
  
 จากการฟัง

- เด็กได้ทักษะการฟัง
- เด็กได้รับจากประสบการณ์เดิม
- เด็กได้ทักษะการคิด


หลังจากได้ฟังเสียงเสร็จแล้วก็ได้ทำ  สื่่อทางภาษา
สิ่งที่ได้รับ 
 
  ได้ผลิตสื่อตามความคิดและออกแบบด้วยตนเอง  สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน นำไปเป็นสื่อการเรียนการสอน





















วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 16  สิงหาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 9  เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน  13.10 น. เวลาเข้าเรียน  13.10 น. เวลาเลิกเรียน 16.40 น.



                 แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมสื่อเกี่ยวกับประเทศในอาเซียน มี 4 กิจกรรม  คือ


- กิจกรรมหุ่นนิ้วมือ 
- กิจกรรมปากขยับได้ 
- กิจกรรมธงเลื่อนได้ 
- กิจกรรมจับคู่ธงและคำพูดแต่ละประเทศ
            
              กิจกรรมนี้ทำให้รู้ว่าประเทศที่เข้าร่วมอาเซียนมีทั้งหมด 10 ประเทศ รู้ถึงธงสัญลักษณ์ของแต่ละประเทศ







เส้นคั่นคอมเม้น



                 สิ่งที่ได้รับจากการทำกิจกรรมในครั้งนี้
  
          ได้ทั้งความรู้เพิ่มมากขึ้น ได้ความเพลิดเพลิน สนุกกับการทำชิ้นงาน ในกลุ่มช่วยกันคิดว่าจะออกแบบยังไงให้งานที่ได้รับมอบหมายออกมาดี เกิดความสามัคคีในการทำงาน สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่นได้  ผลงานที่ทำเสร็จแต่ละกลุ่มมีความสวยงามมากและเกิดความภาคภูมิใจในผลงาน