40 นางสาวกมลมาศ จันทร์ไพศรี

วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 16  สิงหาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 9  เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน  13.10 น. เวลาเข้าเรียน  13.10 น. เวลาเลิกเรียน 16.40 น.



                 แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมสื่อเกี่ยวกับประเทศในอาเซียน มี 4 กิจกรรม  คือ


- กิจกรรมหุ่นนิ้วมือ 
- กิจกรรมปากขยับได้ 
- กิจกรรมธงเลื่อนได้ 
- กิจกรรมจับคู่ธงและคำพูดแต่ละประเทศ
            
              กิจกรรมนี้ทำให้รู้ว่าประเทศที่เข้าร่วมอาเซียนมีทั้งหมด 10 ประเทศ รู้ถึงธงสัญลักษณ์ของแต่ละประเทศ







เส้นคั่นคอมเม้น



                 สิ่งที่ได้รับจากการทำกิจกรรมในครั้งนี้
  
          ได้ทั้งความรู้เพิ่มมากขึ้น ได้ความเพลิดเพลิน สนุกกับการทำชิ้นงาน ในกลุ่มช่วยกันคิดว่าจะออกแบบยังไงให้งานที่ได้รับมอบหมายออกมาดี เกิดความสามัคคีในการทำงาน สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่นได้  ผลงานที่ทำเสร็จแต่ละกลุ่มมีความสวยงามมากและเกิดความภาคภูมิใจในผลงาน




                                                                                           

วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิน

วันศุกร์ ที่ 9 สิงหาคมาคม  พ.ศ.2556
ครั้งที่ 8 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.


เวลาเข้าสอน  13.10 น.  เวลาเข้าเรียน 13.10 น. เวลาเลิกเรียน 16.40 น.


           นั่งเรียนเป็นวงกลมแล้วอาจารย์ให้ช่วยกันแต่งนิทาน  เพื่อทำนิทาน Big Book ของห้อง นิทานที่เพื่อนๆ ช่วยกันแต่งพอเรียบเรียงออกมาแล้ว มีเนื้อเรื่องดังนี้

           
         มีครอบครัวกระต่ายอยู่ครอบครัวหนึ่ง  สร้างบ้านอยู่ในทุ่งหญ้าสีเขียวครอบครัวกระต่ายประกอบด้วย พ่อ แม่ มีลูกสองตัว ชอบแย่งแครอทกัน น้องชอบแย่งแครอทของพี่ และตัวพี่ก็ยอมเสียสละให้น้องเสมอเลยเพราะเชื่อคำที่พ่อแม่สอน แต่ตัวน้องก็เอาแต่ใจเกินไป ต้องให้พี่ยอมน้องทุกเรื่อง แต่แล้ววันหนึ่งมีกระรอกตัวหนึ่งมาแย่งแครอทของน้องกระต่ายไป น้องกระต่ายก็เลยนั่งร้องไห้ พี่กระต่ายก็เลยเอาแครอทของตัวเองมาให้น้อง น้องเกิดสงสัยว่าทำไมพี่ถึงเอาแครอทมาให้ พี่ก็เลยบอกว่าเราเป็นพี่น้องกันเราต้องแบ่งปันกัน น้องกระต่ายก็เลยหักแครอทแบ่งกับพี่คนละครึ่ง และหลังจากนั้นน้องกระต่ายก็ไม่เอาแต่ใจตัวเองอีกเลย









            พอเนื้อเรื่องแต่งเสร็จแล้วก็แบ่งกลุ่มละเท่าๆกัน  แต่ละกลุ่มจะได้กลุ่มหนึ่งแผ่นเพื่อมาวาดรูปประกอบเนื้อเรื่อง   สิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้คือ ได้แสดงความคิด การทำงานเป็นทีม ความสามัคคีในกลุ่ม การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ถ้าเราไม่ช่วยเพื่อนทำงานก็จะเสร็จไม่ทันต่อเวลา วาดและระบายสีเสร็จก็นำมาประกอบเข้าเล่ม

















วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิน

วันศุกร์ ที่ 26 กรกฎาคม  พ.ศ.2556
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน  13.10 น.  เวลาเข้าเรียน 13.10 น. เวลาเลิกเรียน 16.40 น.




เป็นภาพวาดในสิ่งที่ตนเองชอบ และออกไปเล่านิทานโดยแต่งให้เชื่อมโยงจากที่เพื่อนเล่า

เรื่องการประเมิน

1.ใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลาย
2.เน้นที่ความก้าวหน้าของเด็ก

-บันทึกสิ่งที่เด็กทำได้
-ทำให้สามารถส่งเสริมเด็กให้ก้าวไปสู่พัฒนาการทางภาษาในระดับที่สูงขึ้นได้

3.ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย
4.ให้เด็กมีโอกาสประเมินตนเอง
5.ครูให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลงาน
6.ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล

ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษา

-การเขียนตามคำบอกของเด็ก
-ช่วยเด็กเขียนบันทึก
-อ่านนิทานร่วมกัน
-เขียนประกาศเพื่อแจ้งข่าว เตือนความจำ
-อ่านคำคล้องจอง
-ร้องเพลง
-เล่าสู่กันฟัง
-เขียนส่งสารถึงกัน

             อาจารย์ได้เล่านิทานให้ฟังสองเรื่อง เป็นการเล่านิทานแบบเล่าไปวาดไป

เรื่องแรก  พอเล่าเสร็จจะออกมาเป็นรูปหน้าสุนัขจิ้งจอก

เรื่องสอง  เป็นเรื่องที่คุณยายอาศัยอยู่ที่กรุงเทพแล้วพบเกาะ  พอเล่าเสร็จจะออกมาเป็นรูป
แมลงเต่าทอง


                                       




                                






บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 19 กรกฎาคม  พ.ศ.2556
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน  13.10 น.  เวลาเข้าเรียน 13.00 น. เวลาเลิกเรียน 16.40 น.

เรื่องแนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

1.การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา (Skill Approch)
-ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยๆของภาษา
-การประสมคำ
-ความหมายของคำ
-นำคำมาประกอบเป็นประโยค
-การแจกลูกสะกดคำ การเขียน

ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย

-มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีจินตนาการ
-มีการเลียนแบบพฤติกรรมคนรอบข้าง
-ช่างสงสัยและชอบถาม
-ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มีความอยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบๆตัว

2.การสอนภาษาแบบธรรมชาติ (Whole  Language)
ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
-เด็กเกิดการเรียนรู้จากการเคลื่อนไหวของตนเองและการได้สัมผัสจับต้องกับสิ่งต่างๆแล้วสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง
-เรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์และได้ลงมือปฏิบัติ
-สังคมและบุคคลรอบๆตัวมีผลต่อการเรียนรู้ทางภาษา

การสอนภาษาธรรมชาติ

-ไม่บังคับให้เด็กเขียนและท่องคำสะกด
-สอนสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันและสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเอง
-สอนแบบบูรณาการณ์สิ่งที่มีความหมายและเด็กสนใจ


หลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ 

1.การจัดสภาพแวดล้อม
-หนังสือที่ใช้จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบรูณ์
-เด็กต้องมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อม

2.การสื่อที่มีความหมาย

-เด็กอ่านเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
-สื่อสารมีพื้นฐานมาจากประสบการณ์จริง

3.การเป็นแบบอย่าง

-ครูเป็นแบบอย่างที่ดีทำให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องที่สนุก
-ครูอ่านและเขียนโดยมีจุดมุ่งหมาย

4.การตั้งความคาดหวัง

-เด็กสามารถอ่านและเขียนได้ถูกต้อง
-ครูต้องเชื่อว่าเด็กมีความสามารถในการเขียนและการอ่าน

6.การใช้ข้อมูลย้อนกลับ

-ยอมรับการอ่านและเขียนของเด็ก
-ตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็ก

7.การยอมรับนับถือ

-เด็กเลือกเรียนในสิ่งที่ตัวเองมีความสนใจ
-เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
-ในการทำกิจกรรมเด็กไม่จำเป็นต้องเลือกทำเพียงอย่างเดียว

8.การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น

-เด็กจะเชื่อว่าตัวเองมีความสามารถ
-ต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น
-ต้องไม่พูดว่าเด็กไม่มีความสามารถเป็นของตน

ภาพดุ๊กดิ๊ก อีโมชั่น  การ์ตูนน่ารัก ภาพเคลื่อนไหวภาพกลิตเตอร์  47170b9ccb781 แต่ง hi5