40 นางสาวกมลมาศ จันทร์ไพศรี

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ที่  5  กรกฎาคม  พ.ศ. 2556
ครั้งที่  4  เวลาเรียน  13.10 - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน  13.10 น.  เวลาเข้าเรียน 13.00 น. เวลาเลิกเรียน  15.10 น.
แต่ละกลุ่มนำเสนองานหน้าชั้นเรียน
กลุ่มที่ 1 เรื่องภาษา
                          ภาษา  หมายถึง  เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อความหมาย ถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ความต้องการ เช่น เสียงพูด สัญลักษณ์  เป็นต้น
                          ความสำคัญของภาษา
1. ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์  ช่วยให้การติดต่อสะดวกและง่ายขึ้น
2. ภาษาเป็นสิ่งที่ช่วยยึดให้มนุษย์มีความผูกพันกัน  เพราะแต่ละภาษาต่างก็มีแบบแผนของตน
3. ภาษาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง  แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของชนชาติ
4. ภาษามีกฏเกณฑ์  ต้องรักษากฏเกณฑ์นั้นไว้  เพราะภาษามีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัย
5. ภาษามีศิลปะ มีความงดงาม การใช้นั้นขึ้นอยู่กับเหตุการณ์
กลุ่มที่ 2 เรื่องแนวคิดทางภาษา
                             การเรียนรู้ภาษาของเด็กปฐมวัย  มีหลายทฤษฎี  ดังนี้
1. ทฤษฎีของนักพฤติกรรมศาสตร์  ( The  Behaviorist View )  มีความเชื่อว่า การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการปรับสิ่งแวดล้อมของแต่ละบุคคลที่มีอยู่ในตนเอง  และขณะเจริญเติบโต
- การเรียนรู้  การเรียนภาษาเกิดขึ้นจากการที่สิ่งแวดล้อมเป็นผู้ปรับพฤติกรรมผู้เรียน
- พฤติกรรมทั่วไปและพฤติกรรมทางภาษาถูกปรับโดยเสริมแรงจากการตอบสนองของสิ่งเร้า
- การปรับพฤติกรรมที่ซับซ้อน  จะมีกระบวนการตอบสนองเฉพาะเจาะจง โดยการใช้เสริมแรงทางบวก
2. ทฤษฎีสภาวะทิ้งตัวโดยกำเนิด ( The Nativist View )
                                ทฤษฎีนี้มีความเชื่อเกี่ยวกับกฎธรรมชาติ  และสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนเรียนรู้ภาษาของเด็กแตกต่างกัน คือ
- การให้ความสำคัญต่อองค์ประกอบภายในบุคคลเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษา
- การแปลความบทบาทขององค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ภาษา
                                  ชอมสกี้และแมคนีล  เป็นผู้ที่มีความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็กว่า เด็กทุกคนเกิดมาโดยมีโครงสร้างทางภาษาศาสตร์อยู่ในตัวโดยกำเนิด ได้แก่ โครงสร้างด้านความหมาย  ประโยคและระบบเสียง เด็กไม่จำเป็นต้องเรียนระบบของภาษา  เพียงแต่ต้องค้นหาว่าระบบภาษาของตนเองเกี่ยวข้องกับภาษาสากลอย่างไร กลุ่มเสียงใดจะรวมกลุ่มเข้าด้วยกัน
กลุ่มที่ 3 เรื่องพัฒนาการทางสติปัญญาแรกเกิด - 2 ปี
การเรียนรู้  0 - 1 ขวบ
 - ลูกจะใจจดจ่ออยู่กับใบหน้าของคุณแม่เมื่อยื่นหน้าเข้ามาใกล้ และเขาจะจดจำใบหน้าของแม่ได้ เมื่อลูกไดียินเสียงเขาจะสอดส่ายสายตามองหาว่าแม่อยู่ไหน
อายุ 4 สัปดาห์
- เมื่อแม่ยื่นหน้าเข้าไปใกล้ในระยะที่เขามองเห็น  ทารกจะมองเมื่อแม่คุยกับเขาและจะพยายามลอกเลียนแบบการพูดของแม่ เมื่อทารกร้องเขาจะหยุดร้องตอนที่แม่อุ้ม
อายุ 6 สัปดาห์
- ทารกจะยิ้มไล่หลังแม่ และสายตาของเขาจะมองตามของเล่นที่เคลื่อนที่ได้
อายุ 8 สัปดาห์
- ถ้าถือของที่มีสีสันสดใสเหนืศีรษะทารก  เขาจะเงยหน้ามองและใช้เวลาสัก 2 - 3 วินาทีในการปรับสายตา และจะมองวัตถุนั้นเมื่อขยับของไปมา
กลุ่มที่ 4 เรื่อง พัฒนาการด้านสติปัญญา 2 - 4 ปี
                    เพียเจย์ ( Piaget )  ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีตั้งอยู่บนรากฐานขององค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม  การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา พัฒนาการจะเป็นไปตามลำดับขั้นตอนเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ  ไม่ควรจะเร่งเด็กให้ข้ามจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งเพราะจะทำให้เด็กเกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า  สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
กลุ่มที่ 5 เรื่องพัฒนาการเด็กช่วง 4 - 6 ปี
-นับ 1 -3 ได้ถูกต้อง
-เรียงบล็อก 5 อัน ตามลำดับจากใหญ่ที่สุดไปเล็กที่สุด
-บอกชื่อและจับคู่แม่สีได้
-แยกแยะความแตกต่างระหว่างเส้นขวาง เส้นตั้ง และเส้นนอนได้
-เป็นนักสังเกตการณ์ที่ดี  โดยเฉพาะเรื่องที่ตัวเองมีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่ด้วย
-เล่นของเล่นได้นานขึ้น เพราะมีสมาธิดีขึ้น
กลุ่มที่ 6 เรื่องจิตวิทยาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
1.แรงขับ ( Drive ) คือ ความต้องการของผู้เรียนในบางสิ่งบางอย่างแล้วจูงใจ ( Motivated ) ให้ผู้เรียนหาทางตอบสนองตามความต้องการ
2.สิ่งเร้า ( Stimulus ) เมื่อมีสิ่งเร้าผู้เรียนจะได้รับความรู้ ( Message ) หรือการชี้แนะ ( Cue )
3.การตอบสนอง ( Response ) คือ การที่ผู้เรียนแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้า
4.การเสริมแรง ( Reinforcement ) คือ การให้รางวัล เช่น การชมเชย
กลุ่มที่ 7 เรื่องวิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
                            เพียเจย์ ( Piaget )   ได้แบ่งพัฒนาการทางสติปัญญาออกเป็น 4 ด้าน
1.ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว ( Sensorimotor Stage ) อายุแรกเกิด - 2 ปี
2.ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการ ( Pre - Operational Stage ) อายุ 2 - 7 ปี
3.ขั้นปฏิบัติการคิดแบบรูปธรรม ( Concrete Operational Stage ) อายุ 7 - 11 ปี
4.ขั้นปฏิบัติการคิดแบบรูปธรรม ( Formal Operational  Stage )  อายุ 11 ปีขึ้นไป
กลุ่มที่ 8 เรื่ององค์ประกอบของภาษา
-นักภาษาศาสตร์จะให้ความสำคัญของเสียงพูดมากกว่าเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเพราะภาษาย่อมเกิดจากเสียงที่ใช้พูด ส่วนภาษาเขียนเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงพูด คำที่ใช้พูดจาจะประกอบด้วยเสียงสระ เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์ แต่บางภาษาก็ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ เช่น บาลี สันสหฤต เขมร อังกฤษ พยางค์ และคำ
กลุ่มที่ 9 เรื่องหลักการจัดประสบการณ์ ( ภาษาธรรมชาติ )
                       หลักการจัดประสบการณ์เป็นหลักสำคัญในการจัดประสบการณ์การณ์เรียนรู้  จำเป็นต้องศึกษาหลักสูตรให้เข้าใจเพราะในการจัดประสบการณ์ให้เด็ก 3 - 5 ปี จะต้องยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูควบคู่กับการให้การศึกษา โดยต้องคำนึงถึงความสนใจและความต้องการของเด็กทุกคนทั้งปกติ เด็กที่มีความสามารถพิเศษ และเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม สติปัญญา
กลุ่มที่ 10 เรื่องพัฒนาการทางสติปัญญา
                        พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่างๆ เป็นลำดับขั้น  ดังนี้
1.ขั้นประสาทรับรู็และการเคลื่อนไหว ( Sensori-Motor Stage)
2.ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด ( Preoperational Stage )
3.ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม ( Concrete Operation )
4.ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม ( Formal Operational)
                        เด็กควรได้รับการเสริมแรง มี 6 ขั้น ได้แก่
1.ขั้นความรู้แตกต่าง
2.ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม
3.ขั้นรู้หลายระดับ
4.ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง
5.ขั้นรู้ผลของการกระทำ
6.ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว
                         
            
            
   


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น